วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การป้องกันกำจัด โรคราก โคนเน่า หัวเน่า ของมันสำปะหลัง

การป้องกันกำจัด โรคราก โคนเน่า หัวเน่า ของมันสำปะหลัง

โรคราก โรค โคนเน่า หัวมันเน่า เกิดจากเชื้อรา  ก่อนจะทำการเพาะปลูกควรไถระเบอดดิน ดิน ผึ่งแดด 10-30 วัน หากพบการระบาดของเชื้อ ควรเผาเหง้ามันสำปะหลัง เพื่อกำจัดเชื้อ

ควรหาพืชชนิดอื่นมาปลูกแทน แนะนำให้เป็นพืชที่ทนต่อโรคโคนเน่า เช่น ข้าวโพด

อาการของโรค แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

1. โรคหัวเน่าเละ เกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่างๆ มีสีเหลือง และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นโรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่างๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก

2. โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่างๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมาแต่มีขนาดเล็ก

3. โรคหัวเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา

4. โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน

การป้องกันกำจัด
ส่วนการป้องกันกำจัดทำได้ยาก เนื่องจากเชื้อราดังกล่าวสามารถอยู่รอดได้ดีในดิน ซึ่งมีพืชอาศัยอยู่มาก ทำให้การป้องกันและกำจัดทำได้ยาก ทั้งนี้ ก่อนทำการปลูกควรไถดินและตากแดดไว้ประมาณ 10-15 วัน ถ้าเป็นพื้นที่ระบาดแล้ว ให้เก็บเศษเหง้ามันไปเผาทิ้งให้หมด เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่สามารถอยู่ค้างได้เป็นปี ควรปรับสภาพดินให้มีความเป็นด่างสูงขึ้น

1. การเตรียมแปลงปลูก ควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
2. การไถตากดินเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
3. กำจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่าๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
4. คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
5. ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 – 12 เดือน

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น